วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

สาระ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดคณิศาสตร์ปฐมวัย

วันที่ 6 มีนาคม 2556
    สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับตรวจสอบ และประเมินผลมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยวัยจัดอยู่ภายใต้สาระหลักดังนี้
 




 

กีฬาสีพี่น้องปฐมวัย

วันที่ 2 มีนาคม 2556
ภาพกิจกรรมกีฬาสี
สนุกมากพี่น้องร่วมกันเล่นกีฬา....ถึงจะร้อนแต่ก็มีความสุข




วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปโทรทัศน์ครู

พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ - Learning Through Play : Mathematical Development
จุดเด่น

  1. เป็นการเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กโดยใช้หลักสูตรการเล่นเป็นฐาน (play-based curriculum) ในโรงเรียนนำร่องแห่งหนึ่งใน Welsh
  2. เน้นการปูพื้นฐานความพร้อมให้กับผู้เรียนโดยเฉพาะในช่วงแรกที่เรียกว่า foundation phase ได้ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนกลุ่มเล็กๆตามความถนัดและความสนใจของเด็ก
  3. เปิดโอกาสให้ครูได้จัดกิจกรรมนอกห้องเรียน (out door activities ) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนโดยไม่เร่งรัดหากนักเรียนได้มีพัฒนาการตามศักยภาพของแต่ละคน
  4. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาทางคณิตศาสตร์ง่ายๆ ภ่าษาเพื่อการสื่อสาร การใช้เงิน หรือกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการอื่นๆที่นอกเหนือจากชั้นเรียนธรรมดา
  5. การใช้สื่อที่หลากหลายเช่น  a bee robot,ตุ๊กตาหมี ดินสอยักษ์ เพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้คณิศาสตร์ เช่นการประเมิณค่า และการแก้ปัญหาเป็นต้น
  6. แสดงถึงการประสานงานและการสร้างความเข้าใจระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองซึ่งมีการเปลี่ยนปลงสู่การจัดการเรียนการสอนแบบใหม่นี้ อาจทำให้เด็กไม่ได้รับการเตรียมความพร้อมที่เพียงพอ ซึ่งในทางตรงข้ามพบว่า นักเรียนเหล่านี้ต่างมรความสุขและใฝ่รู้ใฝ่เรียนในการเรียน มีความสำเร็จีความพร้อมในการเรียนรู้อย่างน่าพึงพอใจ
การประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
  • อาจนำมาปรับประยุกต์โดยการนำการเล่นอย่างมีความหมายมาสอดแทรกในการจัดการเรียนการสอนวิชาต่างๆสำหรับเด็กปฐมวัยและเด็กประถมได้
เงื่อนไขที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ
  • จะต้องมีการสื่อสารระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอและชัดเจนเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
  • ครูจะต้องไม่ยึดติดกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นแบบเดิมๆ
ข้อควรระวัง
  • ใช้ให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเดก

ทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น

    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้

  1. การจำแนกประเภท
  2. การจัดหมวดหมู่
  3. การเรียงลำดับ
  4. การเปรียบเทียบ
  5. รูปร่างรูปทรง
  6. พื้นที่
  7. การชั่งตวงวัด
  8. การนับ
  9. การรู้จักตัวเลข
  10. รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
  11. เวลา
  12. การเพิ่มและลดจำนวน
จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่