วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

สาระ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดคณิศาสตร์ปฐมวัย

วันที่ 6 มีนาคม 2556
    สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับตรวจสอบ และประเมินผลมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยวัยจัดอยู่ภายใต้สาระหลักดังนี้
 




 

กีฬาสีพี่น้องปฐมวัย

วันที่ 2 มีนาคม 2556
ภาพกิจกรรมกีฬาสี
สนุกมากพี่น้องร่วมกันเล่นกีฬา....ถึงจะร้อนแต่ก็มีความสุข




วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปโทรทัศน์ครู

พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ - Learning Through Play : Mathematical Development
จุดเด่น

  1. เป็นการเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กโดยใช้หลักสูตรการเล่นเป็นฐาน (play-based curriculum) ในโรงเรียนนำร่องแห่งหนึ่งใน Welsh
  2. เน้นการปูพื้นฐานความพร้อมให้กับผู้เรียนโดยเฉพาะในช่วงแรกที่เรียกว่า foundation phase ได้ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนกลุ่มเล็กๆตามความถนัดและความสนใจของเด็ก
  3. เปิดโอกาสให้ครูได้จัดกิจกรรมนอกห้องเรียน (out door activities ) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนโดยไม่เร่งรัดหากนักเรียนได้มีพัฒนาการตามศักยภาพของแต่ละคน
  4. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาทางคณิตศาสตร์ง่ายๆ ภ่าษาเพื่อการสื่อสาร การใช้เงิน หรือกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการอื่นๆที่นอกเหนือจากชั้นเรียนธรรมดา
  5. การใช้สื่อที่หลากหลายเช่น  a bee robot,ตุ๊กตาหมี ดินสอยักษ์ เพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้คณิศาสตร์ เช่นการประเมิณค่า และการแก้ปัญหาเป็นต้น
  6. แสดงถึงการประสานงานและการสร้างความเข้าใจระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองซึ่งมีการเปลี่ยนปลงสู่การจัดการเรียนการสอนแบบใหม่นี้ อาจทำให้เด็กไม่ได้รับการเตรียมความพร้อมที่เพียงพอ ซึ่งในทางตรงข้ามพบว่า นักเรียนเหล่านี้ต่างมรความสุขและใฝ่รู้ใฝ่เรียนในการเรียน มีความสำเร็จีความพร้อมในการเรียนรู้อย่างน่าพึงพอใจ
การประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
  • อาจนำมาปรับประยุกต์โดยการนำการเล่นอย่างมีความหมายมาสอดแทรกในการจัดการเรียนการสอนวิชาต่างๆสำหรับเด็กปฐมวัยและเด็กประถมได้
เงื่อนไขที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ
  • จะต้องมีการสื่อสารระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอและชัดเจนเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
  • ครูจะต้องไม่ยึดติดกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นแบบเดิมๆ
ข้อควรระวัง
  • ใช้ให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเดก

ทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น

    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้

  1. การจำแนกประเภท
  2. การจัดหมวดหมู่
  3. การเรียงลำดับ
  4. การเปรียบเทียบ
  5. รูปร่างรูปทรง
  6. พื้นที่
  7. การชั่งตวงวัด
  8. การนับ
  9. การรู้จักตัวเลข
  10. รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
  11. เวลา
  12. การเพิ่มและลดจำนวน
จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย

เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบของ พิจิตรา เกษประดิษฐ์

ปริญญานิพนธ์

ของ

พิจิตรา เกษประดิษฐ์

เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่สำคัญที่สุด สำหรับพัฒนาการของมนุษย์ สิ่งที่เด็กได้รับประสบการณ์และการเรียนรู้ในช่วง5 ปีแรก ของชีวิตจะมีผลต่อการวางรากฐานที่สำคัญต่อบุคลิกภาพของเด็กที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้น เด็กควรที่จะได้รับการพัฒนาอย่างครบถ้วน ทั้งทางด้านการอบรมเลี้ยงดู การเอาใจใส่ความรักและความอบอุ่น บลูม (Bloom)
ความมุ่งหมายของงานวิจัย
  • เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ
ความสำคัญของงานวิจัย
  • ผลการวิจัยครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ สำหรับครูและและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบไปใช้เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอีกวิธีหนึ่ง
กลุ่มตัวอย่าง
  • กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 3-4 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 20 คน
ตัวแปรที่จะศึกษา
  • ตัวแปรต้น คือ การจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ
  • ตัวแปรตาม คือ ทักษะพื้นฐานทางคณิศาสตร์
สรุปผลการวิจัย
  • ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายบุคคลของเด็กปฐมวัย หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1




วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 16 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556
กิจกรรม
  1. อาจารย์และนักศึกษาพูดคุยสรุปเรื่องราวที่ได้เรียนมาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่าเวลาจะทำแผนการสอนต้องคำนึงถึงมาตราฐานคณิศาสตร์
  2. คณิตศาสตร์เป็นเรื่องของการคิดอย่างสร้างสรรค์คิดได้หลากหลายเวลาสอนเด็กควรทำมายแมปและตารางสัมพันธ์ควบคู่ไปด้วยทำให้เด็กและครูเกิดความเข้าใจร่วมกัน
  3. สอนวิธีการใช้เกณฑ์ตั้งคำถาม เช่น กล้วยที่มีสีเหลือง กับกล้วยที่มีสีเขียว ให้ใช้คำถามเกณฑ์เดียวคือ กล้วยที่มีสีเขียวมีกี่ลูก ที่เหลือเด็กก็จะรู้เองว่าคือกล้วยที่มีสีเขียว
  4. สอนเด็กจัดประเภทของบางอย่างมันสัมพันธ์กันเด็กก็ได้รู้แล้วเข้าใจว่าทำไมของบางอย่างต่างกันแต่อยู่ด้วยกัน
  5. ต้องมีการบันทึกโดยใช้ตารางเปรียบเทียบในการสอนควบคู่กันไปด้วย
พูดคุยตกลงเรื่อง
  • เสื้อสูตรว่าจะตัดหรือไม่
  • ตกลงวันจัดงานกีฬาสี
  • ตงลงวันเวลาไปดูงานที่ลาว ตกลงเรื่องรถและค่าใช้จ่ายว่าต้องช่วยกันออกส่วนไหนบ้าง
งานที่ทำในห้องเรียน
อาจารย์กระดาษคนละแผ่นและให้เขียนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 3 ข้อได้แก่
  1. ได้ความรู้อะไร
  2. ได้ทักษะอะไร
  3. รู้วิธีสอน ตีโจทย์ได้ไหม
การบ้าน
  • ให้สรุปวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยลงบล็อคห้ามซ้ำกันกับเพื่อน


วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 15 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556
กิจกรรม
เพื่อนสอบสอน หน่วย "ร่างกายของเรา"

อาจารย์ให้คำแนะนำวิธีการสอนที่ถูกต้อง
  • การสอนต้องได้มาตราฐานตามกรอบมาตราฐานคณิตศาสตร์
  • ใช้คำถาม...ถามเด็กให้ถูกต้องไม่ซับซ้อนวกวน
  • ต้องรู้จักวิธีควบคุมเด็กเพื่อให้เด็กสนใจทำกิจกรรม 
 

สรุปบทความ

เรื่องเด็กไทยกับคณิตศาสตร์

              วิชาคณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วย การคิดคำนวณ แสดงเหตุ และผล ที่บอกด้วยตัวเลข หรือว่าด้วยความสัมพันธ์ แต่ภาษาของการบอกส่วนใหญ่มักจะบอกออกมาเป็นตัวเลข
ซึ่งในความสัมพันธ์เหล่านี้ ถ้าผู้เรียนไม่ได้มีความเข้าใจมาแต่แรก ซึ่งอาจเนื่องมาจากเวลาที่ไม่พอเพียงระหว่างครูและผู้เรียนที่มีให้กันในการเรียนการสอน หรือ แนวทางในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ของครูที่มีให้แก่ผู้เรียน ซึ่งไม่สามารถก่อให้เกิดความสนใจ ที่มากพอให้แก่ผู้เรียน ผลจากปัญหาเหล่านี้ จะทำให้คณิตศาสตร์ได้ถูกลดทอนความสำคัญลงไป จนทำให้ผู้เรียนมองข้าม ทั้งที่วิชานี้เป็นวิชาที่นำไปสู่จินตนาการและผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ในความเป็นจริง วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการคิดที่สนุกสนาน และสามารถจับต้องและลงมือปฏิบัติได้จริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ที่ถ่ายทอดเนื้อหาวิชา จะทำการถ่ายทอดและชี้แนะทักษะในการคิดคำนวณ จะสามารถทำการถ่ายทอดเรื่องที่ยากให้กลายเป็นสิ่งที่แสนจะง่ายดายและสนุกสนานได้อย่างไร
เด็กไทยยังคงอยู่กับการท่องจำ และพยายามจดจำหลักการ โดยที่ยังไม่เข้าใจในเนื้อหาที่ตนเองท่องมากมายสักเท่าไหร่ หรือยังมองไม่เห็นความสำคัญ ในประโยชน์ของการนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร
ในลักษณะการสอนในแบบของทีมงานครูอลิส ที่ได้คัดสรรครูที่มีคุณภาพในการถ่ายทอดเนื้อหา และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาแนวคิดให้ผู้เรียนได้คิดอย่างเป็นระบบ และ อีกทั้งยังได้ฝึกให้ผู้เรียน ได้ลองคิดด้วยทักษะส่วนตัว ที่ผู้เรียนนั้นมีอยู่แล้วในตนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถรู้ถึงทักษะทางคณิตศาสตร์ ที่มีอยู่ในตัวเอง และรู้จักที่จะนำไปใช้ได้จริงโดยตัวของผู้เรียนเอง ซึ่งผู้เรียนจะรู้จักคิด และแก้ไขปัญหา และวิเคราะห์โจทย์ได้ตรงประเด็น เพราะคณิตศาสตร์ ไม่ได้มีเฉพาะแค่ตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

คณิตศาสตร์กับอาเซี่ยน

เราจะเรียนคณิตศาสตร์แบบอาเซี่ยนได้อย่างไรบ้างมาดูกัน


 เราสามารถนำรูปภาพหรือจำนวนเหล่านี้มาปรับใช้เป็นคณิตศาสร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ได้อย่างสนุกสนานทีนี้เด็กๆก็จะได้รู้จักกับอาเซี่ยนได้ดียิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เด็กๆมารู้จักกับอาเซี่ยนกัน

 
           โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538 ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542 ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
 
        ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งมีการวางกรอบความร่วมมือ เพื่อสร้างความเข็มแข็ง รวมถึงความมั่นคงของประเทศสมาชิกทั้งด้านความมั่นคงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้วางแนวทางก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ภายใต้คำขวัญคือ "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม" (One Vision, One Identity, One Community) โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 ประชาคม คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political Security Community : APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)

โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ดังต่อไปนี้

1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย

มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020
ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)

ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน


 ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน

กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)

  3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม


          สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 14 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556
กิจกรรม
กลุ่ม 4 สอบสอน "หน่วยกระดุม"



1.วันจันทร์ ชนิดของกระดุม (มิ้งค์)
  • นำเข้าสู่บทเรียน ครูร้องเพลง
หลับตาเสีย อ่อนเพลียทั้งวัน
หลับแล้วฝัน เห็นเทวดา
มาร่ายรำ  งามขำโสภา
พอตื่นขึ้นมา  เทวดาไม่มี
  • ครูแจกภาพที่เป็นจิ๊กซอว์ให้เด็กและให้เด็กนำมาต่อเป็นภาพให้สมบูรณ์
  • เด็กบอกครูสิคะว่าเป็นภาพอะไร
ชนิดของกระดุม
  • เด็กๆบอกครูแล้วครูเขียนไว้บนกระดาน
  • เด็กๆอยากทราบไหมว่ากระดุมในขวดนี้มีทั้งหมดกี่เม็ด
  • ครูและเด็กช่วยกันนับกระดุมในขวด 1 2 3 4
  • ครูให้เด็กร่วมกันนับรูของกระดุม ที่มี1รู และ4 รูแล้วร่วมกันสรุปว่ากระดุมที่มี1รูมีกี่เม็ดส่วนเม็ดที่เหลือคือกระดุมที่มี4 รู
2.  อังคาร ลักษณะของกระดุม (ดิว)
กระดุมโลหะกับกระดุม อโลหะ เด็กๆจะรู้ได้อย่างไรต้องลองใช้แม่เหล็กมาดูด เพื่อแยกแยะกระดุม ถ้าดูดได้แปลว่าเป็นกระดุมโลหะส่วนที่เหลือคือกระดุมอโลหะ
วาดตารางสัมพันธ์ให้เด็กร่วมกันสรุป
3. ประโยชน์ของกระดุม (มิ้น)
  • ให้แต่งนิทานที่มีความสอดคล้องและเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
4.วิธีการเก็บรักษากระดุม
  • เก็บใส่กล่อง กระปุก ถุง ขวด
ใช้คำถาม..ถามเด็กว่า
  • เด็กลองบอกครูสิคะว่าเราจะไปหาซื้อกระดุมได้จากที่ไหน
  • เด็กๆบอกครูสิคะว่าถ้าเรามีกระดุมเราสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง
  • เด็กๆบอกครูสิคะว่าเราจะเก็บรักษากระดุมได้อย่างไรและเก็บใสอะไรได้บ้าง

5.ข้อควรระวังของกระดุม (ฝ้าย)
*ไม่ได้เข้าเรียน





บันทึกการเรียนรู้

ครั้งที่ 13 วันที่ 29 มกราคม 2556
กิจกรรม
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทั้งสองเซคมาเรียนรวมกันเพื่อตกลงเรื่องกิจกรรมที่จะต้องจัดและแบ่งหน้าที่กันดังนี้
  • การแสดงรำ สว่างจิต (แพตตี้)
  • ร้องเพลง รัตติยา (จูน)
  • โฆษณา นิสาชล (โบ) ละมัย (เปิ้ล)
  • พิธีกร (ลูกหยี) (ซาร่า)
  • การแสดงโชว์
  1. ลิปซิ้งเพลง จุฑามาศ นีรชา
  2. เต้นประกอบเพลง พลอยปภัส เกตุวดี มาลินี 
  3. ละครใบ้ ลูกหมี จันทร์สุดา
  4. ตลก ณัฐชา แตง ชวนชม
  5. ผู้กำกับหน้าม้า พวงทอง นฎา
  6. หน้าม้า เพื่อนๆที่เหลือเป็นหน้าม้า
อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันสรุปว่ากิจกรรมที่ตกลงกันเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อย่างไรบ้าง
  • การนับ
  • การลำดับเหตุการณ์
  • การทำตามแบบ
  • การบวก

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 12 วันที่ 22 มกราคม 2556
กิจกรรม
พูดแนะนำเกี่ยวกับการอ่านงานวิจัย และให้ไปศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิจัยด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ให้แต่ละหน่อวยออกไปสอบสอนวันนี้สอบได้3หน่วยคือ
  • หน่วยขนมไทย
  • ข้าว
  • กล้วย




การบ้าน
  • ให้สอบสอนในคาบถัดไป


วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 11 วันที่ 15 มกราคม 2556
กิจกรรม
อาจารย์สาธิตการสอน
เพื่อนออกไปรายงาน1 กลุ่ม
*อาจารย์ติดประชุมจึงต้องสอบสอนในคาบต่อไป

การบ้าน
  • เตรียมสาธิตการสอนตามแผนที่เขียนไว้(หน่วยกระดุมหลากสี)ในคาบถัดไป




บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 10 วันที่ 8 มกราคม 2556
กิจกรรม
อาจารย์อธบายถึงเทคนิคการสอนเด็กโดยการใช้คำถามที่ถูกต้องเหมาะสมกับวัยของเด็ก

  • เวลาใช้คำถาม ถามเด็กให้ ถามว่า "เด็กๆนึกถึงอะไร" ไม่ควรใช้คำว่า "คือ " เพราะจะทำให้เด็กได้มีอิสระในการคิด และกล้าแสดงความคิดเห็น
  • เกณฑ์ คือ ตัวชี้วัดที่เป็นตัวเลข
  • มาตราฐาน คือ สิ่งที่คนทั่วไปยอมรับได้
มาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของ สสวท.
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
  •  จำนวน>นับ>ค่า>ตัวเลขกำกับ  
  • การดำเนินการ นำจำนวนมาใช้ในชีวิตประจำวัน
สาระที่ 2 การวัด
  • มีค่าและปริมาณที่แสดงออกมาเป็นตัวเลขโดยใช้เครื่องมือวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
  • ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง (ใช้เครื่องมือ ปริมาณ ตัวเลข หน่วย)
สาระที่ 4 พีชคณิต
  • เข้าใจรูปแบบและความสำพันธ์
สาระที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • รวบรวมข้อมูล(สถิติ) การนำเสนอ(กราฟ)
สาระที 6 ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • เป้นการประยุกต์ใช้

การนำดอกไม้มาประยุกต์ใช้
  1. ทำสถิติ
  2. จำนวน
  3. เซต
  4. เรียงต่อกัน
  5. ขนาด
  6. ใช้เกณฑ์
การบ้าน
  • เตรียมสอบสอนตามแผนที่เขียนไว้(กระดุมหลากสี)



สรุปบทความ6 เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ เคล็ดลับสำหรับเด็กเกลียดเลข

  1. ใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านมาสอนเด็ก จะสอนการเปรียบเทียบ วัดระยะทาง
  2. เทคนิคการอ่านโจทย์เลข 
  3. ใช้ศิลปะเข้าช่วย เน้นคำถามเชิงเปรียบเทียบ คำถามเชิงเหตุผลเข้ามาช่วย
  4. การอ่านการ์ตูน  ต้องทำเป็นเรื่องราวการบวก ลบ คูณ หาร เด็กก็จะสนุกกับภาพการ์ตูนที่ได้ดูและจะมีประสบการณ์ที่เคยเห็นการบวกลบ คูณ หารได้เรียนรู้มากขึ้น
  5. การเล่นบทบาทสมมติ
  6. เกม เกมเศรษฐี การทอยลูกเต๋า เด็กได้เรียนรู้ว่าแต้มไหนมากกว่า แต้มไหนน้อยกว่า


วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 9 วันที่ 1 มกราคม 2556
* หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับวันหยุดปีใหม่

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 8 วันที่ 25 ธันวาคม 2555
* หมายเหตุไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก "สอบกลางภาค"

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 7 วันที่ 18 ธันวาคม 2555
*หมายเหตุไม่มีการเรียนการสอน
การบ้าน
สั่งให้ทำงานที่ให้ทำในคาบที่แล้วคือดอกไม้แกนทิชชู่

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 6 วันที่ 11 ธันวาคม 2555
กิจกรรม
  • พูดคุยเรื่องกล่องที่นำมาส่ง
  • อาจารย์ถามว่าเห็นกล่องแล้วนึกถึงอะไร "วันคริสมาส กล่องของขวัญ ริบบิ้น
  • อาจารย์ถามอีกว่านอกจากกล่องใส่ของได้แล้วนำมาทำอะไรได้อีก ทำตุ๊กตา ลิ้นชัก ฯลฯ
  • อาจารย์พูดถึงรูปร่างลักษณะ กล่องว่ามีแบบใดบ้าง สี่เลี่ยมจัตุรัต ผืนผ้า คางหมู

การเรียนรู้เรื่องกล่อง
  • จำนวน
  • รูปร่าง
  • เปรียบเทียบขนาดกล่อง
  • เรียงลำดับ กล่องเล็ก-ใหญ่ สั้น-ยาว
  • เซต
  • เศษส่วน
อาจารย์ให้ต่อกล่องเป็นรูปอะไรก็ได้ รูปแรกต่อเป็น "หุ่นยนต์"
อาจารย์กำหนดรูปแบบให้ต่อเป็นเรื่องเดียวกัน ต่อเป็น"สวนสัตว์"